- พรศิริ จงกล
- 274 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่ไม่ต้องถอดยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีเพื่อการส่งออก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ |
คำสำคัญ | ข้าวโพด;ผลผลิต |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเป็นการค้า ต้องใช้วิธีการถอดช่อดอกตัวผู้ (detasseling) เพื่อเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และป้องกันการผสมพันธุ์ซึ่งจะทำให้ฝักอ่อนที่ได้มีคุณภาพไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานเนื่องจากฝักอ่อนที่ได้มีเมล็ดบวมพอง แต่การใช้วิธีการถอดช่อดอกตัวผู้ต้องใช้แรงงานและสิ้นเปลืองเวลามาก และยังทำให้สูญเสียใบบางส่วนทำให้ผลผลิตลดลง การใช้วิธีการถอดยอดจะเป็นผลให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำกว่า เช่น ประเทศซิมบับเว อินเดีย เวียดนาม และจีน ดังนั้น การใช้ลักษณะเพศผู้เป็นหมัน (cytoplasmic male sterility) จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการใช้พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่มีลักษณะเพศผู้เป็นหมันที่ให้ผลผลิตสูง |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่ไม่ต้องถอดยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีเพื่อการส่งออก is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 3.0 Thailand License.