ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะถั่วงอก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อารดา มาสริ |
เจ้าของผลงานร่วม | ปวีณา ไชยวรรณ์ , วีรณา สินสวัสดิ์ ฟอเรอร์ , สุมนา งามผ่องใส , สุวิมล ถนอมทรัพย์ , ชุติม คชวัฒน์ , อุดมวิทย์ ไวทยาการ , สมใจ โควสุรัตน์ , ศักดิ์ เพ่งผล , เทวา เมาลานนท์ |
คำสำคัญ | ถั่วเขียวผิวดำ;เชื้อพันธุกรรม;การฟื้นฟู;การจำแนก;การประเมินคุณค่า |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำ จำนวน 100 สายพันธุ์ ดำเนินงานที่ ศวร.ชัยนาท ในปี 2552 พื้นที่ปลูก 2x5 ตรม.ต่อสายพันธุ์ เก็บข้อมูลตาม Mungbean Descriptors ของ IBPGR (1980) รวมทั้งถ่ายภาพของพืชในขั้นตอนการเจริญเติบโตต่าง ๆ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลพืช พบว่า ผลผลิตต่อต้นของถั่วเขียวผิวดำอยู่ระหว่าง 4.7-37.9 กรัม (เฉลี่ย 14.6±6.97 กรัม) ส่วนผลผลิตต่อแปลงย่อยอยู่ระหว่าง 139.7-1,135.6 กรัม (เฉลี่ย 439.3±209.1 กรัม) น้ำหนัก 1,000 เมล็ดอยู่ระหว่าง 30-57 กรัม (เฉลี่ย 45.7±5.5 กรัม) ความสูงต้นอยู่ระหว่าง 63-162 ซม. (เฉลี่ย 118±20 ซม.) จำนวนฝักต่อต้นอยู่ระหว่าง 17-103 ฝัก (เฉลี่ย 47±20.4 ฝัก) จำนวนเมล็ดต่อฝักอยู่ระหว่าง 6-8 เมล็ด (เฉลี่ย 7±0.5 เมล็ด) อายุถึงวันดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์อยู่ระหว่าง 32-87 วัน (เฉลี่ย 63±13 วัน) อายุเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 63-118 วัน (เฉลี่ย 94±13 วัน) รูปร่างใบส่วนใหญ่เป็นแบบสามเหลี่ยม (98 สายพันธุ์) จากข้อมูลที่บันทึกพบว่า มี 20 สายพันธุ์ที่มีความดีเด่นด้านผลผลิตและขนาดเมล็ด และได้รับการคัดเลือกเข้าสู่โครงการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ เพื่อการเพาะถั่วงอกต่อไป ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ได้นำเข้าเก็บรักษาที่ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=14-Arada.pdf&id=570&keeptrack=8 |
สาขาการวิจัย |
|
การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะถั่วงอก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.