ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของปูเพื่อการประมงอย่างยั่งยืน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์ |
คำสำคัญ | ความหลากหลายทางชีวภาพของปู;การประมงอย่างยั่งยืน |
หน่วยงาน | ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | เป็นสัตว์น้ำที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล และเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย อย่างเช่น ปูม้า(Portunus pelagicus) ที่นิยมจับมาบริโภค และถือว่าเป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าสูงที่สุด แต่การทำประมงอวนจมปูนั้น ไม่ได้มีปูม้าที่ติดอวนจมปูมาเพียงชนิดเดียว ส่วนใหญ่เป็นปูชนิดที่ไม่เป็นที่นิยมนำไปบริโภค จึงเป็นที่มาของการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปูที่ได้จากอวนจมปู จ.ประจวบคีรีขันธ์ นักวิจัยได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน เช่น ความหลากชนิด ความชุกชุม และการแพร่กระจายของปูในแต่ละพื้นที่ และช่วงฤดูกาล เป็นต้น รวมถึงศึกษาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของปู สำหรับกลุ่มเป้าหมายทางการประมงอย่างปูม้า ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ได้แก่ EPA และ DHA เป็นปูที่นิยมบริโภคโดยทั่วไป แต่เนื่องจากมีปริมาณลดลงและมีราคาแพง ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบปู 6 ชนิดที่มีปริมาณกรดไขมันสูง จากการศึกษาพบว่า มีปูก้านตายาว( Popophthalmus vigil) ปริมาณมากและราคาถูก ซึ่งมีค่ากรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่มีบทบาทสำคัญในทางสุขภาพใกล้เคียงกับปูม้า |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=50135 |
สาขาการวิจัย |
|
การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของปูเพื่อการประมงอย่างยั่งยืน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.