ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วิทธวัช โมฬี |
เจ้าของผลงานร่วม | สุทิศา เข็มผะกา , เฉลิมชัย หอมตา |
คำสำคัญ | การเลี้ยงไก่ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาไก่พื้นเมือง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เลี้ยงไก่ในคอกแบบขังรวม ตลอดระยะเวลาการทดลอง และกลุ่มที่ 2 เลี้ยงในคอกแบบขังรวม และปล่อยออกสู่แปลงหญ้า ที่อายุ 8 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการทดลอง ไก่ทั้งสองกลุ่มได้รับอาหารสูตรเดียวกันและเลี้ยงจนถึงอายุ 16 สัปดาห์ พบว่า ระบบการเลี้ยงไก่ทั้งสองแบบไม่มีผลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ส่วนประกอบซาก ไขมันในช่องท้อง และปริมาณโภชนะในเนื้ออก การเลี้ยงไก่ในระบบกึ่งปล่อยทําให้เนื้อสะโพกมีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น และผิวหนังของไก่มีสีเหลืองเข้มกว่าไก่ที่เลี้ยงในระบบขังรวม แต่ปริมาณคอลลาเจนและค่าแรงตัดผ่านเนื้อสูงกว่าไก่ในกลุ่มที่เลี้ยงแบบขังรวม เพิ่มสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และลดอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในเนื้อ การเลี้ยงไก่แบบกึ่งปล่อยยังช่วยลดความเสียหายจากการจิกขนของไก่ให้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบขังรวม การเลี้ยงไก่ในระบบกึ่งปล่อยไม่ส่งผลให้สมรรถนะการเจริญเติบโต และ ส่วนประกอบซากดีขึ้น แต่มีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณคอลลาเจน สัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และยังช่วยลดความเสียหายจากการจิกขนของไก่พื้นเมืองให้น้อยลงกว่าการเลี้ยงแบบขังรวม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/3898/1/Fulltext+SUT3-303-53-12-28.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.