ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ความหลากหลายของชนิดปลาน้ำจืด และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในแม่น้ำโขงตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
พยอม รอตมงคลดี |
เจ้าของผลงานร่วม |
เมธาวี รอตมงคลดี ,
งามตา โอกาสดี ,
จํานงค์ รอตมงคลดี |
คำสำคัญ |
ความหลากหลายของชนิดปลาน้ำจืด;ทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
ชุมชนบ้านเวินบึกเป็นชุมชนชนบทที่ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ทําประมงในแม่น้ำโขงเป็นอาชีพหลัก ชุมชนบ้านไชยบุรีเป็นชุมชนชนบท ประชากรมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี รับราชการ พนักงาน ทํานา เลี้ยงปลา ค้าขายและการแปรรูปสัตว์น้ำ ด้านนิเวศวิทยา น้ำมีคุณภาพดี และลําน้ำมีความหลากหลายของระบบนิเวศสูง ทรัพยากรสัตว์น้ำชุกชุม ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีการบุกรุก ทําให้ลําห้วยแคบลง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขง เพื่อการอุปโภค บริโภค การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การคมนาคมและการท่องเที่ยว ชาวบ้านจํานวนมากยังจับสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี เกิดความมั่นคงด้านอาหาร งานวิจัยได้มีการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน ครู ชาวบ้านและผู้วิจัย ก่อให้เกิด กลุ่มนักเรียนพัฒนาเครือข่ายการอนุรักษ์แม่น้ำโขง กลุ่มชาวบ้านในชุมชนเฝ้าระวังการทําลายทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยการหาพันธุ์สัตว์น้ำมาปล่อย กําหนดเขตอนุรักษ์และเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ผลการศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาน้ำจืดในแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อํานาจเจริญ มุกดาหารและนครพนม พบปลาน้ำจืดจํานวน 32 วงศ์ 97 สกุล 164 ชนิด |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/3441/2555-research-Payom.R.pdf?sequence=1
|
สาขาการวิจัย |
|