ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เครื่องค้นหูกแบบกึ่งอัตโนมัติ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สมนึก มังกะระ |
เจ้าของผลงานร่วม | ชูศรี มังกะระ , กรองใจ อินภิบาล |
คำสำคัญ | เครื่องค้นหูก |
หน่วยงาน | วิทยาลัยเทคนิคลำพูน |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ในการผลิตผ้าทอพื้นบ้านนั้นจะต้องผ่านกระบวนการเตรียมด้ายเส้นยืน เรียกว่า “การค้นหูก” เพื่อให้ได้ชุดของเส้นด้ายที่เรียกว่า “เครือหูก” สำหรับนำไปทอเป็นผืนผ้าต่อไป การค้นหูกที่ปฏิบัติกันในปัจจุบันทำได้โดยดึงเส้นด้ายออกจากหลอดด้ายแล้วเดินโยงเส้นด้ายกลับไป-มา คิดเป็นระยะทางในการเดินนับสิบกิโลเมตร วิธีการค้นหูกดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาความเมื่อยล้าเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังผลิตเครือหูกได้น้อยอีกด้วย เครื่องค้นหูกแบบกึ่งอัตโนมัติจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้สามารถค้นหูกได้โดยไม่ต้องเดินโยงเส้นด้าย โดยยังคงรักษาวิถีและเสน่ห์ของการค้นหูกดั้งเดิมเอาไว้ แต่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผลิตเครือหูกได้มากกว่าเดิม อีกทั้งเครือหูกมีความตึงของเส้นด้ายสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของผ้าทอพื้นบ้านให้สูงขึ้น |
สาขาการวิจัย |
|
เครื่องค้นหูกแบบกึ่งอัตโนมัติ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.