- เรืองชัย จูวัฒนสำราญ
- 384 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การใช้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุปรับปรุงดิน น้ำส้มควันไม้เป็นสารแช่เมล็ดกับการพัฒนาของต้นกล้าข้าว |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดรุณี โชติษฐยางกูร |
เจ้าของผลงานร่วม | จาวภา มะนาวนอก , สันติไมตรี ก้อนคำดี , เกษสุดา เดชภิมล |
คำสำคัญ | ถ่านไม้;การกักเก็บคาร์บอน;ก๊าซเรือนกระจก;ควัน;ข้าวนาหว่าน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุปรับปรุงดิน และน้ำส้มควันไม้เป็นสารแช่เมล็ดต่อการพัฒนาของต้นกล้าข้าว ทำการศึกษาในแปลงนาเกษตรกร ใช้แผนการทดลองแบบ split-split plot in RCB โดย main plot ได้แก่ ข้าว 3 พันธุ์คือ ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 และชัยนาท 1 sub-plot ได้แก่ อัตราการใช้ถ่าน 2 อัตราคือ 0 และ 300 กิโลกรัมต่อไร่ และ sub-sub plot ได้แก่ วิธีการแช่เมล็ดก่อนหว่าน 2 วิธีคือ เมล็ดที่ผ่านแช่น้ำ 24 ชั่วโมง แล้วบ่ม 48 ชั่วโมง และวิธีการแช่เมล็ดในสารละลายน้ำส้มควันไม้เจือจาง ผลการทดลองพบว่า ข้าว 3 พันธุ์มีการพัฒนาของต้นกล้าที่ระยะ 30 วันหลังงอกแตกต่างกัน การใส่ถ่านชีวภาพทำให้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และชัยนาท 1 มีพื้นที่ใบลดลง แต่เพิ่มขึ้นในพันธุ์ปทุมธานี 1 การแช่เมล็ดด้วยน้ำส้มควันไม้ก่อนหว่าน ในแปลงที่ไม่มีการใส่ถ่านชีวภาพ ทำให้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 มีความยาวรากรวมต่อต้นเพิ่มขึ้น แต่การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับการแช่เมล็ดในน้ำส้มควันไม้ทำให้ข้าวมีความยาวรากรวมต่อต้นลดลง และที่ระยะ 45 วันหลังการหว่าน การใส่ถ่านชีวภาพทำให้น้ำหนักแห้งรากต่อต้นของพันธุ์ปทุมธานี 1 เพิ่มขึ้น แต่ลดลงในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และชัยนาท 1 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=241-249.pdf&id=994&keeptrack=9 |
สาขาการวิจัย |
|
การใช้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุปรับปรุงดิน น้ำส้มควันไม้เป็นสารแช่เมล็ดกับการพัฒนาของต้นกล้าข้าว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.