ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความหลากหลายของการใช้ประโยชน์จากปูนา ของชุมชนในพื้นที่บริเวณแนวเทือกเขาพนมดงรัก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นิภาศักดิ์ คงงาม |
เจ้าของผลงานร่วม | ประภัสรา ศิริขันธ์แสง , เฉลา สำราญดี |
คำสำคัญ | ปูนา;ชุมชน;ภูมิปัญญาท้องถิ่น;อาหาร;ยา |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ชาวบ้าน หมอยา และผู้นำชุมชน จากนั้นศึกษาวิธีการพัฒนาแปรรูปปูนาเพื่อเป็นอาหารและยาในห้องปฏิบัติการ ทดลอง พบว่า การใช้ประโยชน์ด้านอาหารจากปูนา คือ อาหารพื้นเมืองได้แก่ ละแวกะดาม น้ำพริก ส้มตำ ก้อยและลาบ อาหารประยุกต์ได้แก่ ขนมจีนน้ำยา ผัดหมี่ ปูนาผัดผงกะหรี่ ทอด นึ่ง มันปูนึ่งในกระดอง ปิ้ง ต้มยำ ยำ และผัดกะเพรา อาหารหมักดองได้แก่ จ่อม ปูนาดอง และน้ำปูปรุงรส การใช้ประโยชน์ด้านยาจากปูนา คือ ยาใช้ภายในได้แก่ ยารักษาสมรรถภาพทางเพศ ยาแก้ฝีดาษ ยารักษาอาการในสัตว์ (เบื่ออาหาร) ยาล้าง สารพิษ (กินยาพิษ หรือ สารพิษ) ยารักษาบาดทะยัก ยารักษาอาการฉี่รดที่นอน ยารักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาต และยาอายุวัฒนะ และยาใช้ภายนอกได้แก่ ยารักษาอาการริมฝีปากแตก ยาสมานแผล ยารักษาโรคต้อกระจก ยารักษาโรคใบข้าวไหม้ น้ำมันร้อยแปดรักษาแผลสดและแผลเน่า และยารักษาอาการไข้และอีสุกอีใส ส่วนแนวทางการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารและยาจากปูนา พบเป็นผลิตภัณฑ์ น้ำปูปรุงรส และยาอายุวัฒนะ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/152402/111228 |
สาขาการวิจัย |
|
ความหลากหลายของการใช้ประโยชน์จากปูนา ของชุมชนในพื้นที่บริเวณแนวเทือกเขาพนมดงรัก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.