ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครู เพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 Development of Learning Resource Center Models on Educational Technology and Communication Support 21st Century Skills for Teacher
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รวยทรัพย์ เดชชัยศรี
เจ้าของผลงานร่วม รองศาสตราจารย์ณรงค์ สมพงษ์ , รองศาสตราจารย์สาโรช โศภีรักข์
คำสำคัญ รูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครู;ศตวรรษที่ 21
หน่วยงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ รูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และ3) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามที่มีคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 หลังจากนั้น นำรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯที่สร้างขึ้น ไปสัมมนาวิพากษ์เพื่อหาข้อยุติ และประเมินการรับรองในขั้นสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร 119 คน ครูโสตทัศนศึกษา 119 คน ครูผู้สอน 162 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นด้านตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้านการสัมมนาวิพากษ์ และด้านการประเมินรับรองรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ รูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ครูโสตทัศนศึกษา และครูผู้สอน มีองค์ประกอบ 8 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านการผลิตและการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ ด้านการบริการสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ ด้านการจัดอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดหางบประมาณ ด้านการฝึกอบรมและการนิเทศการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 2) ผลการพัฒนารูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เกิดเป็นรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯที่เหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ และ 3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ให้การรับรองรูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งพบมีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายและแนวคิดของรัฐบาลในด้านการปฏิรูปการศึกษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
วิดีโอ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง