ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการเผาไหม้พื้นที่เกษตรกรรมและไฟป่าภาคเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ. ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
เจ้าของผลงานร่วม ผศ. ดร.ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์, นางสุนีย์รัตน์ โลหะโชติ
คำสำคัญ Iการปลูกพืชแซม พื้นที่ลาดชัน การเผาในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า ระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำ nter-cropping, sloping area, burning of plant residues, soil and water conservation system
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย แผนงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการเผาไหม้พื้นที่เกษตรกรรมและไฟป่าภาคเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน” ได้ดำเนินงานวิจัย ณ หมู่บ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน สามารถตอบวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) รูปแบบการปลูกพืช สามลักษณะ ได้แก่ ก) การปลูกพืชทดแทน คือ กล้วยน้ำว้าร่วมกับตะไคร้ และกล้วยน้ำว้าร่วมกับสับปะรด ข) การทำคันคูรับน้ำรอบแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถป้องกันการชะล้างของดินและเพิ่มความชื้นในดินได้มากขึ้น ค) การปลูกพืชผสมผสาน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วนิ้วนางแดง ซึ่งเป็นพืชคลุมดิน ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน 2) ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่สามารถลดปัญหาการเผา ได้แก่ ก) การทำคันคูรับน้ำรอบแปลง ทำให้ดินมีความชื้นเพิ่มขึ้น ข) การปลูกพืชทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กล้วยน้ำว้าร่วมกับสับปะรดหรือตะไคร้ มีปริมาณการกร่อนดินในระดับที่น้อย (1.83-1.88 ตันต่อไร่ต่อปี) และ ค) การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหลื่อมกับถั่วนิ้วนางแดง ช่วยในการปรับปรุงสมบัติดินได้ดี 3) กระบวนการถ่ายทอดรูปแบบการปลูกพืชแบบผสมผสานอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ การจัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงาน โดยเชิญเกษตรกร 7 ราย และนักวิชาการมาเล่าประสบการณ์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ อบต. สามารถนำบทเรียน การปลูกพืชทดแทน คือ กล้วยน้ำว้า ตะไคร้ สับปะรด ไปขยายผลในตำบลสะเนียนและตำบลอื่นๆ พร้อมกันนี้ นักวิชาการ สามารถทำวิจัยต่อยอด เพื่อพัฒนาการแปรรูปและตลาดผลผลิตพืชทดแทน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License

การพัฒนาระบบเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการเผาไหม้พื้นที่เกษตรกรรมและไฟป่าภาคเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


เรื่องที่เกี่ยวข้อง