ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
เจ้าของผลงานร่วม ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล , ประจวบ ฉายบุ
คำสำคัญ ความหนาแน่น;การเจริญเติบโต;ปลาหมอ (Anabas testudineus)
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 20 ตัว/ตร.ม. มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการรอดตายสูงกว่า และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำกว่า ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 30 ตัว/ตร.ม. และ 40 ตัว/ตร.ม. แต่ความหนาแน่น 30 และ 40 ตัว/ตร.ม. ไม่แตกต่างกัน และพบว่าปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 20 ตัว/ตร.ม. มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า และอัตราส่วนผลตอบแทนเงินลงทุนสูงกว่า ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 30 และ 40 ตัว/ตร.ม. ในส่วนของปลาดุกบิ๊กอุยที่เลี้ยงในรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 (ระยะเวลารอบละ 120 วัน) มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อัตราการรอดตาย ต้นทุนในการผลิต และอัตราส่วนผลตอบแทนเงินลงทุน ไม่แตกต่างกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/File20130319143025_30174.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง