ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาการใช้สมุนไพรในรูปแบบแห้งและน้ำมันสกัดต่อการย่อยได้ สิ่งแห้งในอาหารโคนม โดยวิธี in vitro digestibility
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วัชณพงศ์ ยุพการณ์
คำสำคัญ การย่อยได้ของสิ่งแห้ง;น้ำมันสกัด;สมุนไพรแห้ง;สัตว์เคี้ยวเอื้อง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาผลการใช้สมุนไพรในรูปแบบแห้ง (dry herbs) และน้ำมันสกัด (extract oil) เพื่อเพิ่มการย่อยได้ของสิ่งแห้งในระบบ In vitro (In vitro dry matter digestibility, IVDMD) ในอาหารสูตรรวมที่มีฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก โดยใช้สมุนไพรในรูปแบบแห้ง 7 ชนิด ได้แก่ มะเกลือ, ใบยอ, ขี้เหล็ก, ขมิ้น, พริก, ดีปลี และมะรุม ที่ระดับ 1, 5 และ 10 กรัม/กก. อาหาร และน้ำมันสกัด 5 ชนิดได้แก่ น้ำมันสน, น้ำมันยูคาลิปตัส, น้ำมันขมิ้น, น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันตะไคร้ ที่ระดับ 1, 5 และ 10 กรัม/กก. อาหาร พบว่าสมุนไพรในรูปแบบแห้งที่ระดับ 1.0 กรัม/กก. อาหาร มีผลต่อค่าการย่อยได้ของสิ่งแห้งแตกต่างกัน โดยพบว่าใบยอ ขมิ้น และพริก ให้ค่าการย่อยได้สูงกว่าสมุนไพรชนิดอื่น และน้ำมันสกัดที่ระดับ 10 กรัม/กก. อาหาร มีผลต่อค่าการย่อยได้ของสิ่งแห้งแตกต่างกัน โดยพบว่าน้ำมันขมิ้นและน้ำมันสะระแหน่ มีค่าการย่อยได้สิ่งแห้งสูงกว่ากลุ่มอื่น จากผลการศึกษาเบื้องต้นนี้มีความเป็นไปได้ในการนำสมุนไพรไปประยุกต์ใช้ในอาหารสัตว์ ซึ่งจะได้มีการทดลองในระดับภาคสนาม (สัตว์ทดลอง) ต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=303.pdf&id=697&keeptrack=21
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาการใช้สมุนไพรในรูปแบบแห้งและน้ำมันสกัดต่อการย่อยได้ สิ่งแห้งในอาหารโคนม โดยวิธี in vitro digestibility is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง