ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการการผลิตโคเนื้อแบบขังคอกและโคเนื้อแบบปล่อยฝูงในอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กรรณิกา เมฆแดง
เจ้าของผลงานร่วม จิตติมา กันตนามัลลกุล , อัจฉรา โพธิ์ดี
คำสำคัญ โคเนื้อ;การผลิตโคเนื้อแบบขังคอก;การผลิตโคเนื้อแบบปล่อยฝูง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นเพศชายและจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ทำไร่เป็นอาชีพหลัก เลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริม เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยฝูง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อปล่อยฝูงอายุ 1 ปี - 1 ปีครึ่ ง, 1 ปีครึ่ ง - 2 ปี และ 2 ปี - ไม่เกิน 3 ปี มีต้นทุนการผลิตวันละ 4,289 4,383 และ 9,200 บาท มีกำไรตัวละ 3,711 7,657 และ 5,881 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดตัวละ 7,603 11,293 และ 12,398 บาท ตามลำดับ ในการผลิตโคเนื้อ แบบขังคอก เกษตรกรซื้อโคพันธุ์ลูกผสม อายุระหว่าง 1 ปีครึ่ง – 2 ปี และ 2 ปี - ไม่เกิน 3 ปี เลี้ยงเสริมอาหารข้น ระยะเวลา4 เดือน จึงขาย มีต้นทุนการผลิตตัวละ 19,417 และ 20,347 บาท มีกำไรตัวละ1,233 และ 1,136 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด ตัวละ 2,517 และ 2,190 บาท ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตโคเนื้อแบบปล่อยฝูงคือ แหล่งหญ้าธรรมชาติมีจำกัด เกษตรกรขาดแคลนพื้นที่เลี้ยงโค และขาดแคลนแหล่งน้ำในฤดูแล้ง ปัญหาและอุปสรรคในโคเนื้อแบบขังคอก คือ อาหารข้นราคาแพง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/ฝสส/research/2nd/FullPaper/SCI/Oral/O-ST%20012%20นางสาวกรรณิกา%20เมฆแดง.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การจัดการการผลิตโคเนื้อแบบขังคอกและโคเนื้อแบบปล่อยฝูงในอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง