ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาไคโตซานจากเกล็ดปลากะพงขาว เกล็ดปลานิล และเปลือกกุ้งขาว |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วิจิตรา ตุ้งซี่ |
เจ้าของผลงานร่วม | เดชนะ บุญพัทโร , นาฏยา สุวรรณชาตรี |
คำสำคัญ | ไคโตซาน;เกล็ดปลากะพงขาว;เกล็ดปลานิล;เปลือกกุ้งขาว |
หน่วยงาน | โปรแกรมวิชาเพาะเลยี้งสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การสกัดไคติน และไคโตซานจากเกล็ดปลากะพงขาว เกล็ดปลานิล และเปลือกกุ้งขาว วิธีการสกัดไคตินคือ การเตรียมวัตถุดิบ โดย เอาส่วนเนื้อ ไขมันออก ล้างน้ำสะอาด และตากแดดให้แห้ง จากนั้นกําจัดแร่ธาตุด้วย 1 M HCl 24 ชั่วโมง ในเกล็ดปลา และ 72 ชั่วโมง ในเปลือกกุ้ง จากนั้นกําจัดโปรตีนด้วย 2 M NaOH 1 ชั่วโมง และการกําจัดสีด้วย 95% เอทานอล 5 นาที สําหรับการสกัดไคโตซานใช้ 2 M NaOH อุณหภูมิ 140 ºC 15 นาที และอบแห้งที่อุณหภูมิ 100 ±10 ºC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในเกล็ดปลา และ 2 ชั่วโมง ในเปลือกกุ้งขาว จากการใช้เกล็ดปลาและเปลือกกุ้ง 100.15±016 กรัมของน้ำหนักแห้ง พบว่า ผลผลิตน้ำหนักไคตินที่สกัดได้จากเกล็ดปลากะพงขาว เกล็ดปลานิล และเปลือกกุ้งขาว มีค่าเท่ากับ 56.96±3.65, 56.15±0.19 และ 48.83±10.23% ตามลําดับ (P>0.05) และใช้ไคตินปริมาณ 30 กรัม ในการสกัดไคโตซาน พบว่า ปริมาณของไคโตซานที่สกัดได้จากเกล็ดปลากะพงขาว เกล็ดปลานิล และเปลือกกุ้งขาว มีค่าเท่ากับ 27.97±4.06, 45.64±7.95 และ 90.05±4.25% ตามลําดับ (P>0.05) โดยไคตินมีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่เป็นผงละเอียด มีลักษณะสีขาวใสในเกล็ดปลากะพงขาว สีน้ำตาลอ่อนในเกล็ดปลานิล และสีน้ำตาลอ่อนในเปลือกกุ้งขาว สําหรับไคโตซานในเกล็ดปลามีลักษณะเป็นของแข็ง ผงละเอียด ซึ่งมีลักษณะสีขาวทั้งเกล็ดปลากะพงขาวและเกล็ดปลานิล และไคโตซานในเปลือกกุ้งมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ มีสีน้ำตาลอ่อน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://bundit.skru.ac.th/21-4-60/graduate2016/proceeding/skru6/3sci/poster/(21).pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาไคโตซานจากเกล็ดปลากะพงขาว เกล็ดปลานิล และเปลือกกุ้งขาว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.