ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษารูปแบบจีโนไทป์ของยีนฮีทช็อคโปรตีนในโคนม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุพิชฌาย์ บุญช่วย
เจ้าของผลงานร่วม ปิยะณัฐ ปะราชิโก , มนต์ชัย ดวงจินดา , วุฒิไกร บุญคุ้ม
คำสำคัญ ความเครียดเนื่องจากความร้อน;ดัชนีอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์;Heat Shock Protein gene
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาตรวจสอบความถี่จีโนไทป์ของยีนฮีทช็อคโปรตีนในโคนมที่สัมพันธ์กับการทนร้อน และเปรียบเทียบยีน ทนร้อนกับปริมาณผลผลิตน้ำนมในโคนมแต่ละพันธุ์ โดยใช้โคนม 3 พันธุ์ จำนวน 359 ตัว ได้แก่ ซาฮิวาล (SW) 79 ตัว, ไทย ฟรีเชียน (TF) 181 ตัว และไทย มิวกิ้ง ซีบู (TMZ) 99 ตัว ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2551 ปริมาณน้ำนม รวมที่ 305 วัน และตัวอย่างเลือดถูกเก็บเพื่อตรวจหารูปแบบ genotype ด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction– Restriction Fragment Polymorphism (PCR-RFLP) จากการศึกษาพบว่า รูปแบบจีโนไทป์ AA มีมากกว่ารูปแบบจีโนไทป์ AB ซึ่งพบมากในโคนมพันธุ์ SW สำหรับโคนม TF ให้ผลผลิตน้ำนมรวมเฉลี่ยที่ 305 วันสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับโคนม TMZ แต่มีความสามารถในการทนร้อนต่ำสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทาง ตรงกันข้าม ดังนั้นในแผนการปรับปรุงพันธุ์ควรเน้นการวิเคราะห์หลายลักษณะพร้อมกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1241.pdf&id=791&keeptrack=15
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษารูปแบบจีโนไทป์ของยีนฮีทช็อคโปรตีนในโคนม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง