ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ
เจ้าของผลงานร่วม ทักษิณา ศันสยะวิชัย , ศุภกาญจน์ ล้วนมณี , ศรีสุดา ทิพยรักษ์ , เกษม ชูสอน , จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง , ชยันต์ ภักดีไทย
คำสำคัญ อ้อยปลูก;อ้อยตอ;พันธุ์ขอนแก่น 3;ความต้องการน้ำ;ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย AWC) เมื่ออ้อยอายุ 30-240 วัน 3) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 25.0% ของ AWC 4) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 37.5% ของ AWC 5) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 50.0% ของ AWC และ 6) ไม่ปลูกอ้อย โดยวิธีการที่ 1-5 ใส่ปุ๋ยเคมี 24-9-18 กก. N-P2O5-K2O /ไร่ ให้น้ำทุก 7 วันตามกรรมวิธีโดยตรวจวัดปริมาณความชื้นดินก่อน ให้น้ำทุกครั้ง ผลการทดลอง พบว่าอ้อยปลูกตอบสนองต่อการให้น้ำโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 28.8-35.0 ตัน/ไร่ แตกต่างจากวิธีการไม่ให้น้ำ (20 ตัน/ไร่) โดยวิธีการให้น้ำเสริมประมาณ 37.5% ของ AWC หรือมีปริมาณการใช้น้ำ 1,620 มม./ฤดูปลูก มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด 35.0 ตัน/ไร่ ดังนั้นอ้อยปลูกมีประสิทธิภาพการ ใช้น้ำสูงสุดเท่ากับ 74.1 ลบ.ม./ต้นอ้อย ให้ค่า Kc ของอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ระยะตั้งต้น ระยะแตกกอ ระยะสร้างน้ำตาล และระยะ สุกแก่ และพบว่า อ้อยตอ 1 ตอบสนองต่อการให้น้ำโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 20.1-21.1 ตัน/ไร่ แตกต่างจากวิธีการไม่ให้น้ำ (14.5 ตัน/ไร่) โดยวิธีการให้น้ำเสริมประมาณ 25.0% ของ AWC หรือมีปริมาณการใช้น้ำ 1,703 มม./ฤดูปลูก มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด 21.1 ตัน/ไร่ ดังนั้นอ้อยตอ 1 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุดเท่ากับ 129.3 ลบ.ม./ต้นอ้อย ให้ค่า Kc ของอ้อยตอ 1 พันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ระยะตั้งต้น ระยะพักตัว ระยะแตกกอ ระยะสร้างน้ำตาล และระยะสุกแก่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=152.pdf&id=642&keeptrack=8
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง