- รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน
- 368 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศุภกาญจน์ ล้วนมณี |
เจ้าของผลงานร่วม | กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ , ชยันต์ ภักดีไทย , ศรีสุดา ทิพยรักษ์ , วัลลีย์ อมรพล |
คำสำคัญ | อ้อย;การจัดการธาตุอาหาร;ดินทราย (ชุดดินบ้านไผ่);ประสิทธิภาพของปุ๋ยไนโตรเจน;ปุ๋ยหมักกากตะกอน;หม้อกรองอ้อย |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาการจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมต่อการผลิตอ้อยในพื้นที่ดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการทดลองกับอ้อยปลูกในชุดดินบ้านไผ่ ปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) ไม่ปรับปรุงดิน และ 2) ปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ 100 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยหมักกากตะกอนหม้อกรองอ้อย 1,000 กก./ไร่ ปัจจัยรองได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์ LK92-11 และปัจจัยย่อยคือ อัตราปุ๋ยได้แก่ 0-6-18, 9-6-18, 18-6-18 และ 27-6-18 กก. N-P2O5 -K2O/ไร่ ผลการทดลองพบว่า ดินทรายชุดดินบ้านไผ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ดังนั้นเมื่อไม่ปรับปรุงดินจะได้ผลผลิตต่ำเพียง 11.43 ตัน/ไร่ แต่เมื่อทำการปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์และปุ๋ยหมักทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 15.35 ตัน/ไร่ ส่วนการเปรียบเทียบศักยภาพของพันธุ์เมื่อปลูกในดินดังกล่าวพบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 โดยพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิต 14.20 ตัน/ไร่ ในขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิต 12.59 ตัน/ไร่ และเมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่า การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ในดินดังกล่าวโดยไม่มีการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ย 18-6-18 กก.N-P2 O5 -K2O/ไร่ ส่วนอ้อยปลูกพันธุ์ LK92-11 ควรใส่ปุ๋ย 18-6-18 กก.N-P2O5 -K2O/ไร่ จึงได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=193.pdf&id=646&keeptrack=12 |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.