- ปัทมา วิริยพัฒนทรัพย์
- 412 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ทักษิณา ศันสยะวิชัย , กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ , สุรีย์พร ม้ากระโทก |
คำสำคัญ | ไถกลบใบอ้อย;ผลผลิต;ระบบราก;อ้อยตอ;การจัดการซากพืช |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การหาวิธีการจัดการแปลงอ้อยเพื่อให้อ้อยสามารถไว้ตอได้มากกว่า 2 ตอ และผลผลิตอ้อยตอต้องลดลงจากอ้อยปลูกไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย 5 กรรมวิธีได้แก่ 1) การไถกลบเศษซากอ้อยลงดิน 2) การปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดิน 3) การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบเมื่อปอเทืองออกดอก 4) การไถตัดรากอ้อย และ 5) การเผาเศษซากอ้อย (วิธีเกษตรกร) โดยใช้อ้อยพันธุ์อู่ทอง 3 ในการศึกษาวิจัยพบว่า ในเวลา 6 ปี มีเศษซากอ้อย (แห้ง) ทิ้งไว้ในแปลงเฉลี่ย 2.68 ตัน/ไร่/ปี การจัดการแปลงอ้อยแต่ละกรรมวิธีไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตอ้อยที่แตกต่าง แต่ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ในระยะยาวของความเสียหายที่เกิดจากการเผาเศษซากอ้อยที่มีตอผลผลิตที่ได้รับ โดยดูการเจริญแผ่กระจายของรากอ้อยและผลผลิต ในอ้อยตอ 4 พบว่ารากอ้อยส่วนใหญ่กระจายตัวในรัศมีด้านข้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนปริมาณรากในระดับความลึกต่าง ๆ นั้น มีปริมาณรากเจริญเติบโตอยู่มาก ที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร การไถกลบเศษซากอ้อยคลุกลงดิน การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ และการไถตัดราก มีรากอ้อยในชั้นดินความลึก 0-30 เซนติเมตร มากกว่าการปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดินและการเผาเศษซากอ้อย 9-11 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการจัดการแปลงที่มีผลให้อ้อยไว้ตอได้มากกว่า 2 ตอ และผลผลิตลดลงจากอ้อยปลูกไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ การไถกลบเศษซากอ้อยลงดินและการไถตัดรากอ้อย ส่วนการปล่อยเศษซากอ้อยคลุมดิน การปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ และการเผาเศษซากอ้อยสามารถไว้ตอได้เพียง 2 ตอเท่านั้น โดยเฉพาะการเผาเศษซากอ้อยในระยะยาวแล้วทำให้ผลผลิตลดลงมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=233.pdf&id=650&keeptrack=13 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของราก และการให้ผลผลิตอ้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.