ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ศักยภาพของเชื้อ Streptomyces-PR87 ปฏิปักษ์ และวิธีการใช้ สำหรับควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในสภาพโรงเรือนปลูกพืชทดลอง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รัติกาล ยุทธศิลป์
เจ้าของผลงานร่วม เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล , อนันต์ หิรัญสาลี
คำสำคัญ แอคติโนมัยซีส;การควบคุมโดยชีววิธี;ไส้เดือนฝอยรากปม;มะเขือเทศ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces-PR87 ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita ในระดับห้องปฏิบัติการและโรงเรือนปลูกพืชทดลอง ผลการวิจัยพบว่า น้ำเลี้ยงเชื้อ Streptomyces-PR87 ที่เลี้ยงในอาหาร Arginine glycerol mineral salt broth นาน 7 วัน ที่ระดับความเข้มข้น 50, 75 และ 100% สามารถยับยั้งการฟักไข่ของไส้เดือนรากปมได้ จำนวนเฉลี่ยของ J2 ต่อ 5 กลุ่มไข่คือ 37. 67, 6.67 และ 3.33 ตัว เปรียบเทียบกับการฟักไข่ในน้ำมีตัวอ่อน J2 เฉลี่ย 136.33 ตัว ความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงเชื้อ Streptomyces-PR87 ที่ทำให้ตัวอ่อน J2 ตายได้ 100% ภายใน 48 ชั่วโมง คือความเข้มข้น 75 และ 100% ผลการวิจัยในสภาพโรงเรือนพบว่า การใช้เชื้อ Streptomyces-PR87 ทุกรูปแบบช่วยลดการเกิดโรครากปมมะเขือเทศและลดจำนวนไข่ต่อระบบรากของมะเขือเทศทั้งสองสายพันธุ์ที่นำมาทดสอบ (พันธุ์สีดาและเพชรลานนา 731) โดยในมะเขือเทศพันธุ์เพชรลานนา 731 กรรมวิธีที่ใช้เชื้อทั้งในรูปแบบน้ำเลี้ยงเชื้อ หรือสารแขวนลอยเซลล์ตั้งแต่ระยะกล้าถึงย้ายปลูก หรือใช้หัวเชื้อพีทมอสตั้งแต่เพาะกล้าและรองก้นหลุมปลูก ลดการเกิดโรครากปมได้ และลดจำนวนไข่ต่อระบบรากได้ ส่วนในมะเขือเทศพันธุ์สีดา พบว่ากรรมวิธีที่ใช้น้ำเลี้ยงเชื้อหรือสารแขวนลอยเซลล์ ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงย้ายปลูก ลดการเกิดโรครากปมได้ และลดจำนวนไข่ของไส้เดือนฝอยได้ดีที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=36O-PHATO-055.pdf&id=865&keeptrack=15
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ศักยภาพของเชื้อ Streptomyces-PR87 ปฏิปักษ์ และวิธีการใช้ สำหรับควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในสภาพโรงเรือนปลูกพืชทดลอง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง