ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวภายใต้บริบทนโยบายที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษากรณีระบบค้าข้าว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปริญญ์ วินิจมงคลสิน |
เจ้าของผลงานร่วม | สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล |
คำสำคัญ | ความสัมพันธ์ทางสังคม;ทุนทางสังคม;ระบบการค้าข้าว |
หน่วยงาน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวในอดีต พ่อค้าคนกลางมีบทบาทสำคัญอย่างมากทั้งการอุปถัมภ์ในเรื่องของต้นทุนการทำนากับชาวนา ชาวนาจะต้องพึ่งการขายข้าวเปลือกผ่านพ่อค้าคนกลางก่อนที่ข้าวเปลือกจะไปถึงโรงสี และความสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวเปลี่ยนไปจากเดิม รัฐบาลเข้ามาให้ชาวนากู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผลักดันให้ชนบทมีกองทุนหมู่บ้าน การเข้ามาของความเจริญ การคมนาคมและการสื่อสารสะดวกขึ้น นโยบายจำนำข้าวส่งผลให้ข้าวราคาสูงและชาวนาเป็นอิสระจากความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และมีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางและโรงสีมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำหลังนโยบายจำนำข้าว พบว่า ชาวนา พ่อค้าคนกลาง โรงสี ได้มีการนำทุนทางสังคมในรูปแบบของความไว้วางใจและเครือข่าย เพื่อมาใช้เป็นทุนสำหรับการปรับตัว ทุนทางสังคมดังกล่าวจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวนาและพ่อค้าคนกลางบางกลุ่ม สามารถลดผลกระทบ หรือสร้างช่องทางในการปรับตัวตัวที่หลากหลายขึ้นได้มากกว่าชาวนาและพ่อค้าคนกลางที่ใช้แต่ความสัมพันธ์ในกลไกตลาดเท่านั้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58189 |
สาขาการวิจัย | - |
ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวภายใต้บริบทนโยบายที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษากรณีระบบค้าข้าว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.