- ธันวา ไวยบท
- 308 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การทดสอบพืชอาหารของเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) พาหะนำโรคใบขาวอ้อย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุกฤตา อนุตระกูลชัย |
เจ้าของผลงานร่วม | จุรีมาศ วังคีรี , ยุพา หาญบุญทรง |
คำสำคัญ | โรคใบขาวอ้อย;เพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura);วัชพืช |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การทดสอบหาพืชอาหารชนิดอื่นนอกเหนือจากอ้อยโดยใช้วัชพืช 11 ชนิด เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมคืออ้อยอย่างเดียว และไม่มีพืช ผลการทดลองพบว่า การเลี้ยงเพลี้ยจักจั่นด้วยหญ้าแพรก (Cynodon dactylon (L.) Pers.) ทำให้แมลงพาหะมีชีวิตแตกต่างจากวัชพืชชนิดอื่น ๆ โดยมีชีวิตรอดนาน 7.06±1.82 รองลงมาคือ การเลี้ยงด้วยหญ้าเจ้าชู้ (Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin.) หญ้ารัดเขียด (Fimbristylis miliacea (L.) Vahl.) และหิ่งเม่น (Crotalaria striata DC.) ซึ่งทำให้แมลงมีอายุอยู่รอดได้นาน 2.20±1.30, 1.80±1.64 และ 1.40±1.14 วัน และจากการทดสอบการเจริญเติบโตของ M. hiroglyphicus เมื่อเลี้ยงด้วยหญ้าแพรกเปรียบเทียบอ้อยซึ่งเป็นพืชอาหารหลัก พบว่าเพลี้ยจักจั่นสามารถเจริญได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงตัว เต็มวัย โดยเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ระยะไข่ ซึ่งในระยะตัวอ่อนวัยที่ 1-5 ใช้เวลาเจริญเติบโตใกล้เคียงกับอ้อย แต่ระยะตัวเต็มวัยใช้เวลาเพียง 2.00±2.55 วัน และมีอัตราการรอดชีวิตในระยะไข่ และระยะตัวอ่อนวัยที่ 1-5 เป็น 94%, 90%, 76%, 56%, 38% และ 24% และเจริญเป็นตัวเต็มวัยเพียง 10% ตัวเต็มวัย ไม่มีการวางไข่บนหญ้าแพรก ทำให้ไม่สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้บนหญ้าแพรก ส่วนการเลี้ยงบนต้นอ้อยเพลี้ยจักจั่น มีการเจริญเติบโตและสามารถขยายพันธุ์ได้ตามปกติ ดังนั้นจึงยังไม่พบพืชอาหารรองของแมลงพาหะชนิดนี้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าแมลงพาหะ M. hiroglyphicus มีความจำเพาะเจาะจงกับอ้อยและกับเชื้อไฟโตพลาสมาโรคใบขาวอ้อยเท่านั้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=364.pdf&id=663&keeptrack=12 |
สาขาการวิจัย |
|
การทดสอบพืชอาหารของเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) พาหะนำโรคใบขาวอ้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.