- ดร.ศราวุธ ภู่ไพจิตร์กุล
- 926 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ในการกระตุ้นความต้านทานโรคต้นแตกยางไหลในแตงเทศ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุมิสา อรุณโน |
เจ้าของผลงานร่วม | วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ |
คำสำคัญ | กระตุ้นความต้านทาน;เชื้อราไตรโคเดอร์มา;โรคต้นแตกยางไหล;แตงเทศ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma spp. ในการชักนำให้แตงเทศมีความต้านทานต่อโรคต้นแตกยางไหล (gummy stem blight disease) ของแตงเทศที่เกิดจากเชื้อรา Didymella bryoniae (Auersw) Rehm. โดยนำเชื้อรา Trichoderma spp. จำนวน 15 ไอโซเลต ได้แก่ T1, T4, T9, T10, T13, T14, T17, T18, T19, T20, T21, T24, T25, T30 และ T35 ที่แยกได้จากดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาเลี้ยงเชื้อเพื่อ เพิ่มปริมาณในวัสดุ 3 ชนิดได้แก่ ข้าวฟ่าง, ข้าวหัก และแกลบผสมร่วมกับรำ (1:2 โดยปริมาตร) พบว่าเชื้อรา Trichoderma spp. เจริญเติบโตและมีปริมาณสปอร์มากที่สุดในวัสดุที่เป็นแกลบผสมร่วมกับรำ จากนั้นนำหัวเชื้อรา Trichoderma spp. ทั้ง 15 ไอโซเลต มาผสมกับดินสำหรับปลูกแตงเทศก่อนปลูกเชื้อรา D. bryoniae พบว่า ต้นแตงเทศที่ปลูกด้วยเชื้อรา Trichoderma ไอโซเลต T10 มีขนาดความยาวเฉลี่ยของแผลบนใบเล็กที่สุดในสภาพเรือนทดลองและแปลงปลูกขนาดเล็กคือ 3.17 และ 2.25 มิลลิเมตร ลดการเกิดโรคได้มากถึง 80.36 และ 88.47 เปอร์เซ็นต์ ส่วนต้นแตงเทศที่ปลูกด้วยเชื้อรา Trichoderma ไอโซเลต T25 มีขนาดความยาวเฉลี่ยของแผลบนลำต้นน้อยที่สุด ทั้งในสภาพเรือนทดลองและสภาพแปลงปลูกคือ 7.73 และ 9.12 มิลลิเมตร มีเปอร์เซนต์การเกิดโรคลดลง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ในการกระตุ้นให้ต้นแตงเทศสามารถต้านทานโรคต้นแตกยางไหลและทำให้เกิดโรคลดลงได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=05%20Sumisa.pdf&id=1103&keeptrack=11 |
สาขาการวิจัย |
|
การใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ในการกระตุ้นความต้านทานโรคต้นแตกยางไหลในแตงเทศ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.